วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556


สรุปโทรทัศน์ครู

เรื่อ   เสียง และการได้ยิน
ครูปิยะพร ศรีพลาวงษ์ รร.วัดบ้านแหลม

            เสียงเป็นส่วนหนึ่งที่คนใช้ในชีวิตประจำวัน มนุษย์รู้จัก และคุ้นเคยกับเสียงอันมีเสียงจากธรรมชาติ เช่น เสียงลม เสียงฟ้าผ่า เสียงฟ้าร้อง ฯลฯ เสียงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาใช้ เช่นเสียงจากยานพาหนะ เครื่องจักรกล เสียงดนตรี ฯลฯ มนุษย์รู้จักนำพลังงานเสียงมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน อย่างหลากหลายวิธี พลังงานเสียงจึงมีประโยชน์มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เป็นการประยุกต์ใช้และสร้างองค์ความรู้ให้นักเรียนเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้เกิดในนักเรียน

            การสอนของครูปิยะพร เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่ฝึกให้นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ดีมาก มีการสอนสอนให้นักเรียนได้ฝึกการคิดการตั้งปัญหา การใช้เหตุผล นักเรียนฝึกตอบคำถามโดยใช้เหตุและผล มีการนำสิ่งใกล้ตัวเช่น การแสดงอารมณ์ของคนรอบข้างมาใช้ในการเรียนการสอน มีการสอนที่หลากหลาย ในการทดลองครูต้องติดตามในการทดลอง เพราะนักเรียนยังมีประสบการณ์น้อยโดยครูต้องตรวจดูว่านักเรียนทำการทดลองถูกต้องไหม ฝึกให้นักเรียนแก้ปัญหาในการทดลอง รู้จักรู้จักคิดและแสวงหาความรู้และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันเช่นประดิษฐ์เครื่องดนตรีอย่างง่ายเป็นประโยชน์ดีมากค่ะ

วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย
ชื่องานวิจัย     ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ

ปริญญานิพนธ์
ของ
ชนกพร  ธีระกุล

            การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงทดลอง  ซึ่งมุ่งศึกษาเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ และแบบปกติ ซึ่งสรุปขั้นตอนการศึกษาตามลำดับ ดังนี้
จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
            เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการและแบบปกติ
สมมติฐานในการศึกษาค้นคว้า
            เด็กปฐมวัยที่รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ และที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ  มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกัน
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
     การศึกษาครั้งนี้  มีขอบเขตการศึกษา ดังนี้
            1.ประชากร   ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กนักเรียนชาย-หญิง  อายุ 3 ปี  ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2540  จำนวน 3 ห้องเรียน  ห้องเรียนละ 30 คน  ของโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่  เขตพระโขนง  กรุงเทพมหานคร  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
           
            2.กลุ่มตัวอย่าง    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กนักเรียนชาย-หญิง  อายุ 3 ปี  ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2540  โรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่  เขตพระโขนง  กรุงเทพมหานคร  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน   จำนวน 1 ห้องเรียน  มีจำนวนทั้งสิ้น 30 คน  ซึ่งได้มาโดยมีการสุ่มอย่างง่าย(Simple  Random  Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
            การศึกษาค้นคว้านี้มีเครื่องมือในการศึกษาครั้งนี้
1.แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์  ซึ้งผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบไปด้วยชื่อกิจกรรม  จุดประสงค์  ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม  ชื่อวัสดุอุปกรณ์  และประเมินผล  โดยแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบ่งเป็น 2 แบบ  ได้แก่
            1.1.แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ  ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน  40 แผน
            1.2.แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ  ซึ่งใช้ตามแผนการจัดประสบการณ์ชั้นอนุบาลที่ เล่ม1  ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน พ..2539  โดยผู้วิจัยได้คัดเลือกกิจกรรมให้สอดคล้องกับกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ  จำนวน 40 แผน
2.แบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผู้วิจัยสร้างขึ้น  เป็นแบบทดสอบที่ใช้คำถามที่เป็นรูปภาพชนิด 3 ตัวเลือก  และแบบทดสอบภาคปฏิบัติรวมทั้งสิ้นจำนวน 6 ชุด  ดังนี้
            2.1.แบบทดสอบที่เป็นรูปภาพมี 5 ฉบับ  คือ
                  2.1.1.แบบทดสอบวัดทักษะการสังเกต  จำนวน 8 ข้อ
                  2.1.2.แบบทดสอบวัดทักษะการจำแนก  จำนวน 8 ข้อ
                   2.1.3.แบบทดสอบวัดทักษะการแสดงปริมาณ  จำนวน 8 ข้อ
                   2.1.4.แบบทดสอบวัดทักษะการลงความคิดเห็น  จำนวน 5 ข้อ
                   2.1.5.แบบทดสอบวัดทักษะการหามิติสัมพันธ์  จำนวน 8 ข้อ
            2.2.แบบทดสอบภาคปฏิบัติมี 2 ฉบับ  คือ
                   2.2.1 แบบทดสอบวัดทักษะการสื่อความหมาย  จำนวน 8 ข้อ
                   2.2.2 แบบทดสอบวัดทักษะการลงความเห็น  จำนวน 5 ข้อ
            จากนั้นทำแบบทดสอบ  ซึ่งผ่านการตรวจแก้ไขจากผู้เชี่ยวชาญ  และผ่านกระบวนการวิเคราะห์หาคุณภาพด้านความยากง่าย(p)  ได้ค่าระหว่าง  .40 - .80  ค่าอำนาจจำแนก(D)  ตั่งแต่  .25  ขึ้นไป  และหาค่าความเชื่อมั่น  โดใช้วิธีของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน(Kuder-Richardson) ที่คำนวณจากสูตร  KR-20  ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ  .90
สรุปผลการศึกษาค้นคว้า

            เด็กปฐมวัยที่ได้รับ  การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการและเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจารจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ  มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01  ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐาน  และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง  พบว่า  กลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ มีค่าเฉลี่  39.733  สำหรับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ  มีค่าคะแนนเฉลี่ย  31.066