วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 19
วันที่ 30 กันยายน 2556
เรียน วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
กิจกรรมการเรียนการสอน

            - อาจารย์ได้พูดคุย เรื่อง  Blog ว่ามีความคืบหน้าไปมากแค่ไหน  มีการปรับปรุง  เพิ่มเติม  มากน้อยแค่ไหน  นักศึกษาแต่ละคนขาดอะไรบ้าง(รายบุคคล)
           - อาจารย์ทบทวนแนวคิดทางคณิตศาสตร์ คือ การเปลี่ยนแปลง  การพึ่งพาอาศัย  ความสมดุล  การปรับตัว
          - อาจารย์ให้ส่งสื่อการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์(เดี่ยว) และ สื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์(กลุ่ม)

ภาพการส่งสื่อของเล่นและสื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์





ภาพดิฉันส่งงาน


ความรู้ที่ได้รับ
          สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตต่อไปได้และยังสามารถนำไปใช้กับเด็กและให้เด็กปฏิบัติโดยการให้เด็กได้ลงมือกระทำเองโดยมี ครู หรือ ผู้ปกครอง  คอยให้ความช่วยเหลืออยู่ห่างๆได้




วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 18
วันที่ 23 กันยายน 2556
เรียน วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
กิจกรรมการเรียนการสอน

เพื่อนๆลงมือปฏิบัติการทำ  Cooking  แกงจืด

สรุป      ความรู้ที่ได้รับ

-                  ได้ฝึกให้เด็กได้รู้จักการสังเกตขั้นตอนการทำของแต่ละขั้นตอน
-                 ได้สังเกตวัตถุดิบก่อนทำและหลังทำ ว่าเป็นอย่างไร
-                  ได้รู้จักคุณค่าของวัตถุแต่และชิ้น




วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

วันที่ 17 กันยายน 2556


ทำสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์เพิ่มเติมจาก 1 ชิ้น เพิ่มเป็น 8 ชิ้น
 ตามที่ อาจารย์แนะนำ






วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 17
วันที่ 16 กันยายน 2556
เรียน วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
กิจกรรมการเรียนการสอน
-อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มงานCooking   4 แผ่น
-กลุ่มของดิฉันทำ เรื่อง ข้าวผัด
     แผ่นที่ 1  คือ  การทำ My  Mapping เมนูอาหารต่างๆ แล้วเลือกมา 1 เมนู
     แผ่นที่ 2  คือ  อุปกรณ์และเครื่องปรุงอาหาร
     แผ่นที่ 3  คือ  ขั้นตอนการทำและวิธีการปรุงอาหาร
     แผ่นที่ 4  คือ   สิ่งที่เด็กได้รับจากการประกอบอาหาร





              จากนั้น  ทำเสร็จ  อาจารย์ให้ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนทุกกลุ่ม มีดังนี้
1.ราดหน้า    2.ต้มจืด   3.ไข่เจียวทรงเครื่อง   4.ไข่ผะโล้   5.ข้าวผัด   6.ผัดผักรวมมิตร



-อาจารย์ให้เพื่อนๆโหวตว่าจะเอาของกลุ่มไหนที่จะปฏิบัตรจริง
            เพื่อนๆเลือก กลุ่มที่นำเสนอ  ต้มจืด

สัปดาห์หน้า   อาจารย์ให้กลุ่มที่ได้ทำ Cooking เตรียม อุปกรณ์ มาทำจริงกับเพื่อนๆ

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 16
วันที่ 15 กันยายน 2556
เรียน วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
กิจกรรมการเรียนการสอน
เรียนชดเชย
-อาจารย์แจ้งรายละเอียดว่า วันที่16 ..2556 อาจารย์ตฤณ  จะมาสอนในเรื่องการทำแผนแล้วเข้าสู่การทำ  Cooking
-อาจารย์แจ้งว่า Blog จะต้องทำให้เสร็จ 
          งานวิจัยจะต้องอ่าน 1 เรื่อง  แล้ว สรุป ด้วย
          โทรทัศน์ครูต้องอ่าน 1 เรื่อง  แล้ว สรุป ด้วย
-อาจารย์แจ้งว่า  อาจารย์จะจัดนิทรรศการสื่อวิทยาศาสตร์เข้ามุม
-นำเสนอสื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์  คือ  1.ภาพสามมิติ  2.นิทานเคลื่อนที่(แม่เหล็ก)  3.กล่องสเปกตัม  4.รถลงหลุม  5.หัวห้อยโหน  6.เวทีซูโม่กระดาษ 
-นำเสนอสื่อการทดลองวิทยาศาสตร์   คือ การักน้ำ
-นำเสนอสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์  คือ 1.กระป๋องผิวปาก  2.กระดาษร้องเพลง  3.ตุ๊กตาล้มลุก  4.มุมเมอแรง
ภาพกิจกรรมการนำเสนอสื่อเข้ามุม  ของเล่น  การทดลองวิทยาศาสตร์  


นำเสนอสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์ของตนเอง   กระป๋องผิวปาก

** หมายเหตุ  อาจารย์ให้ทำสิ่งประดิษฐ์เพิ่มเป็น 8 ชิ้น

สื่อของเล่นวิทยาศาสตร์ของดิฉัน คือ กระป๋องผิวปาก

กระป๋องผิวปาก
หลักการใช้
     -เป่าลมผ่านหลอดกาแฟแล้วลมที่เราเป่านั้นจะตกผ่านเข้าสู่ปากกระป๋อง
     -ลมที่เราเป่าออกมานั้น จะมีแรงดันสูง เมื่อตกกระทบกับปากกระป๋อง
     -จึงทำให้เกิดเสียง

อุปกรณ์

     1.กระป๋องน้ำอัดลมจำนวน 1 กระป๋อง
     2.หลอดดูดกาแฟ 1 อัน
     3.กระดาษลัง
     4.กระดาษสีอ่อน
     5.เทปใส/กาวสองหน้า
     6.กรรไกร
     7.ปากกาดำ
     8.ไม้บรรทัด

วิธีการทำ

1.นำกระดาษลังมาตัดให้เป็นวงกลมให้พอดีกับก้นกระป๋อง จากนั้น นำไปแปะที่ก้นกระป๋อง

2.นำกระดาษสีมาแปะให้รอบตัวกระป๋อง

3.ตกแต่งให้สวยงาม

4.นำหลอดมาแปะที่ปากของกระป๋อง


5.จากนั้น  เสร็จเรียบร้อย


ประโยชน์
     1.เด็กสามารถทำได้เองโดยมีครู หรือ ผู้ปกครองคอยดูแล
     2.เด็กได้ผ่อนคลายความตึงเครียด
       3.เด็กสนุกสนาน เพลิดเพลิน กับเสียง ที่ได้ยิน

วิธีการใช้
     เป่าไปที่หลอดแล้วจะมีเสียงเกิดขึ้น

วิธีการเก็บรักษา
     1.เก็บสื่อเข้าที่ ให้เป็นระเบียบ
     2.ตรวจสอบสื่อทุกครั้งหลังเล่นเสร็จ
     3.ซ่อมแซมส่วนที่ชำรุด



วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 15
วันที่ 9 กันยายน 2556
เรียน วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
กิจกรรมการเรียนการสอน
**หมายเหตุ            ไม่มีการเรียนการสอน
                      เนื่องจาก   อาจารย์ติดภารกิจ   อาจารย์ไปสัมมนาที่จังหวัดสระบุรี


**หมายเหตุ**  อาจารย์มีเรียนชดเชยให้ในวันที่  15 กันยายน 2556  เวลา 08.30 . เป็นต้นไป

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 14
วันที่ 2 กันยายน 2556
เรียน วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
กิจกรรมการเรียนการสอน
-นำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์เข้ามุม
โดย อาจารย์ชี้แจงรายละเอียดการทำสื่อวิทยาศาสตร์เข้ามุม ดังนี้
1.ใบรายชื่อ
2.ขั้นตอนการทำ
3.รูปถ่ายของแต่ละขั้นตอน
4.วิธีการใช้


ภาพการนำเสนอ สื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์  ของเพื่อนๆในห้องเรียน







สื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์  ของ  กลุ่มข้าพเจ้า
รถลงหลุม

วัตถุประสงค์
1.เป็นเกมช่วยฝึกการคาดคะเนของเด็ก
2.ช่วยสร้างสมาธิให้เด็กเกิดความมั่นคง
3.สามารถนำตัวเลขมากำกับตรงหลุม เพื่อสอดแทรกในเรื่องคณิตศาสตร์

อุปกรณ์
1. กล่องลัง        2.กระดาษแข็ง       3.ลูกปิงปอง       4.สีโปสเตอร์         5. กรรไกร
6. กาว               7. เทป                    8. ปากกาดำ       9. ไม้บรรทัด         10. คัตเตอร์

หลักการทางวิทยาศาสตร์
            เมื่อเราออกแรงดึงยางแล้วปล่อยให้ยางกระทำกับวัตถุทำให้วัตถุที่อยู่นิ่งเคลื่อนที่ไปในแนวราบหรือแนวดิ่งได้หรือทำให้วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่มีความเร็วเพิ่มขึ้นหรือช้าลง หรือเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุได้

วิธีการทำ
1. นำกล่องลังมาตัดเป็นทแยงรูปสามเหลี่ยม จากนั้นก็จะได้เป็น 2 กล่องนำอีกล่องมาใช้เทปกาวแปะตรงท้ายข้างล่างซ้อนกันเพื่อที่จะให้เป็นแนวชันลงเพื่อลูกปิงปองกลิ้งลงมาได้
2. เจาะหลุมสามหลุมลงไปในส่วนข้างในกล่องเป็นในลักษณะวงกลม จากนั้นใช้กระดาษแข็งตัดพับมาแปะเป็นแนวยาวลงในกล่อง
3.ตัดกระดาษในลักษณะเป็นแท่งยาวสำหรับไว้ดีดและตัดเป็นสามเหลี่ยมเล็กๆลงในขอบที่ดีด
4.ตกแต่งลูกปิงปองวาดและใช้สีโปสเตอร์ทา
5.จากนั้นก็ใช้สีโปสเตอร์ทาตกแต่งตามใจชอบในตัวกล่องว่าต้องการแบบไหน
6.ใช้ยางขึงตรงส่วนทางที่จะยิงลูกปิงปอง


ประโยชน์
1. ฝึกให้เด็กมีสมาธิและฝึกการคาดคะเน
2.ทำให้เด็กผ่อนคลายความตึงเครียดและเกิดความสุนทรีย์ทางอารมณ์
3.เด็กได้ใช้จินตนาการตามเกมที่เล่น

การเก็บรักษา
1.เก็บสื่อให้เป็นระเบียบ
2.อย่าให้โดนความชื้นหรือน้ำ
3.ตรวจสอบสื่อหลังจากใช้แล้วทุกครั้ง ว่าครบถ้วนหรือไม่
4.ซ่อมแซมเมื่อสื่อชำรุด และเติมส่วนที่ขาดหายให้ครบชุด

วิธีการใช้

   นำลูกปิงปองมาดีดขึ้นไปให้ลงหลุม